إعدادات العرض
ทองแลกกับทอง เงินแลกกับเงิน ข้าวสาลีแลกกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์แลกกับข้าวบาร์เลย์…
ทองแลกกับทอง เงินแลกกับเงิน ข้าวสาลีแลกกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์แลกกับข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมแลกกับอินทผลัม และเกลือแลกกับเกลือ จะต้องแลกเปลี่ยนในปริมาณที่เท่ากัน โดยไม่มีส่วนเกิน และต้องทำการแลกเปลี่ยนในทันทีแบบส่งมอบมือถึงมือ แต่หากสิ่งของที่แลกเปลี่ยนเป็นคนละประเภท ก็สามารถแลกเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการ ตราบใดที่เป็นการส่งมอบแบบมือถึงมือทันที
จากอุบาดะฮ์ บิน อัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: "ทองแลกกับทอง เงินแลกกับเงิน ข้าวสาลีแลกกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์แลกกับข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมแลกกับอินทผลัม และเกลือแลกกับเกลือ จะต้องแลกเปลี่ยนในปริมาณที่เท่ากัน โดยไม่มีส่วนเกิน และต้องทำการแลกเปลี่ยนในทันทีแบบส่งมอบมือถึงมือ แต่หากสิ่งของที่แลกเปลี่ยนเป็นคนละประเภท ก็สามารถแลกเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการ ตราบใดที่เป็นการส่งมอบแบบมือถึงมือทันที"
الترجمة
العربية Tiếng Việt Bahasa Indonesia অসমীয়া Kiswahili Nederlands Hausa English አማርኛ සිංහල ગુજરાતી Magyar ქართულიالشرح
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายวิธีการซื้อขายที่ถูกต้องในประเภททรัพย์สินที่เป็นดอกเบี้ยทั้งหก ได้แก่ ทองคำ เงิน ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผลัมและเกลือ หากเป็นชนิดเดียวกัน เช่น ขายทองแลกทองและเงินแลกเงิน...ต้องเข้าเงื่อนไขสองประการ คือ: ประการแรก: ความเสมอภาคของน้ำหนัก หากมีการชั่ง เช่น ทองคำและเงิน หรือความเสมอภาคในการตวง หากมีการตวง เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผาลัม และเกลือ ประการที่สอง: ผู้ขายได้รับมูลค่าและผู้ซื้อได้รับสินค้าในช่วงเวลาที่ทำการค้าขาย หากประเภทเหล่านี้แตกต่างกัน เช่น การขายทองคำด้วยเงิน หรืออินทผาลัมกับข้าวสาลี การขายจะได้รับอนุญาตภายใต้เงื่อนไขเดียว ซึ่งก็คือผู้ขายจะได้รับมูลค่าของสินค้าและผู้ซื้อได้รับสินค้าในช่วงเวลาทำการค้าขาย มิฉะนั้นแล้ว จะถือว่าการค้าขายไม่ถูกต้อง และเข้าข่ายการกินดอกเบี้ยอันเป็นที่ต้องห้ามทั้งผู้ขายและผู้ซื้อفوائد الحديث
อธิบายทรัพย์สินที่เป็นดอกเบี้ยและวิธีการซื้อขาย
ห้ามการค้าขายที่เป็นดอกเบี้ย
ธนบัตรมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับทองคำและเงิน ในแง่ของเหตุแห่งดอกเบี้ย
การซื้อขายประเภททรัพย์สินที่เป็นดอกเบี้ยทั้งหกมีกรณีดังนี้ : 1. ขายทรัพย์สินดอกเบี้ยชนิดเดียวกัน เช่น ทองด้วยทอง และอินทผาลัมกับอินผาลัม...โดยต้องมีเงื่อนไข 2 ประการจึงจะถูกต้อง คือ ความเหมือนใน น้ำหนักหรือตวง และต้องทำการส่งมอบทันที ณ สถานที่ที่ทำสัญญา 2- ขายทรัพย์สินดอกเบี้ยต่างชนิดกัน แต่มีเหตุแห่งดอกเบี้ยเดียวกัน เช่น ทองด้วยเงิน และข้าวสาลีด้วยข้าวบาร์เลย์ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องทำการส่งมอบทันที ณ สถานที่ที่ทำสัญญา และไม่จำเป็นต้องมีปริมาณหรือมูลค่าเท่ากัน 3- ขายทรัพย์สินดอกเบี้ยต่างชนิดกัน และมีเหตุแห่งดอกเบี้ยต่างกัน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำการส่งมอบทันที และไม่จำเป็นต้องมีปริมาณหรือมูลค่าเท่ากัน เช่น การขายทองคำด้วยอินทผาลัม
การซื้อขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่ประเภทดอกเบี้ย หรือกรณีที่ทรัพย์สินหนึ่งเป็นดอกเบี้ยและอีกหนึ่งไม่ใช่ดอกเบี้ย ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการส่งมอบทันทีและไม่จำเป็นต้องมีปริมาณหรือมูลค่าเท่ากัน เช่น การขายอสังหาริมทรัพย์แลกกับทองคำ
التصنيفات
ดอกเบี้ย