“เจ้าจงกลับไปละหมาดใหม่ เพราะแท้จริงแล้วเจ้ายังไม่ได้ละหมาด”

“เจ้าจงกลับไปละหมาดใหม่ เพราะแท้จริงแล้วเจ้ายังไม่ได้ละหมาด”

จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เข้าไปในมัสยิด และชายคนหนึ่งได้เข้าไปละหมาด จากนั้นได้ให้สลามต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้นท่านจึงตอบกลับสลามและกล่าวว่า: “เจ้าจงกลับไปละหมาดใหม่ เพราะแท้จริงแล้วเจ้ายังไม่ได้ละหมาด” ดังนั้นเขาจึงกลับไปละหมาดใหม่ดั่งที่เขาเคยละหมาด แล้วเขาก็มาให้สลามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านก็ตอบกลับว่า: “เจ้าจงกลับไปละหมาดใหม่ เพราะแท้จริงแล้วเจ้ายังไม่ได้ละหมาด” ถึงสามครั้ง แล้วชายคนนั้นก็ได้กล่าวว่า: "ขอสาบานต่อผู้ที่ส่งท่านมาพร้อมกับความจริงว่า ฉันไม่สามารถทำสิ่งใดได้ดีไปกว่านี้อีกแล้ว ดังนั้นโปรดสอนฉันด้วยเถิด และท่านก็กล่าวว่า: “เมื่อเจ้ายืนขึ้นเพื่อละหมาด จงกล่าว “อัลลอฮ์ อักบัร” จากนั้นให้อ่านสิ่งที่ง่ายสำหรับเจ้าจากอัลกุรอาน แล้วจงรุกัวะจนกว่าท่านจะสงบในท่ารุกัวะ จากนั้นจงยืนขึ้นจนกระทั่งหลังของท่านตรง จากนั้นจงสุญูดจนกระทั่งท่านสงบในท่าสุญูด แล้วจงเงยหน้าขึ้นจนกระทั่งท่านสงบในท่านั่ง และจงปฏิบัติเช่นนี้ในทุกส่วนของการละหมาดของท่านทั้งหมด”

[เศาะฮีห์] [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม]

الشرح

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เข้าไปในมัสยิด และหลังจากนั้นมีชายคนหนึ่งเข้ามาและละหมาดสองร็อกอะฮ์อย่างรวดเร็ว เขาไม่สงบนิ่งในการยืน การรุกูั๊วะและการสุญูดของเขา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จ้องมองเขาขณะละหมาด ดังนั้นเขาจึงเข้าไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ขณะที่เขานั่งอยู่ข้างมัสยิด เขาก็ให้สลามท่านนบี แล้วท่านก็ตอบกลับสลาม และกล่าวกับเขาว่า: เจ้าจงกลับไปละหมาดใหม่เสีย เพราะแท้จริงแล้วเจ้ายังไม่ได้ละหมาด ดังนั้นเขาจึงกลับไปละหมาดโดยเร็วดังที่เขาเคยละหมาด แล้วเขาก็เข้ามาทักทายท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พูดกับเขาว่า: เจ้าจงกลับไปละหมาดใหม่เสีย เพราะแท้จริงแล้วเจ้ายังไม่ได้ละหมาด เป็นอยู่อย่างนั้นสามครั้ง ชายคนนั้นกล่าวว่า: ขอสาบานต่อผู้ที่ส่งท่านมาพร้อมกับความจริงว่า ฉันไม่สามารถทำสิ่งใดได้ดีไปกว่านี้อีกแล้ว ดังนั้นโปรดสอนฉันด้วยเถิด ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวแก่เขาว่า: เมื่อเจ้ายืนขึ้นเพื่อละหมาด ให้กล่าวตักบีเราะตุลอิห์รอม จากนั้นอ่านซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์และสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้เจ้าอ่าน แล้วทำการรุกั๊วะจนรู้สึกสงบนิ่งในการรุกูั๊วะ โดยวางฝ่ามือบนเข่าและยืดหลังตรงออก จากนั้นยกลำตัวขึ้นและเหยียดตรงจนกระทั่งกระดูกกลับคืนสู่ข้อต่อของมันและยืนตัวตรง แล้วทำการสุญูดจนรู้สึกสงบนิ่งในการสุญูด โดยการวางหน้าผาก จมูก มือทั้งสอง เข่าทั้งสองและปลายเท้าทั้งสองลงบนพื้น แล้วทำการลุกขึ้นนั่งจนรู้สึกสงบนิ่งในการนั่งระหว่างการสุญูดทั้งสอง แล้วทำเช่นนี้ในทุกร็อกอะฮ์ของการละหมาดของเจ้า

فوائد الحديث

เหล่านี้คือเสา(รุกุ่น)แห่งการละหมาด ที่ไม่สามารถทิ้งได้ ไม่สามารถลืมได้ และไม่สามารถที่จะบอกว่าไม่รู้สิ่งนั้นได้ โดยมีหลักฐานจากการที่ผู้ละหมาดได้รับคำสั่งให้ละหมาดใหม่ และท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มิได้เพียงแค่สอนเขาเท่านั้น

การสงบนิ่งเป็นหนึ่งในเสาหลัก(รุกุ่น)ของการละหมาด

อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า: ในหะดีษชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ละเลยบางข้อปฏิบัติที่จำเป็นของการละหมาด การละหมาดของเขาย่อมใช้ไม่ได้"

อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า: ในหะดีษนี้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนโยนและนุ่มนวลต่อผู้เรียนและผู้ที่ไม่รู้ และการให้ความช่วยเหลืออธิบายเรื่องราวให้เข้าใจ รวมถึงการสรุปเป้าหมาย และการจำกัดสิ่งที่สำคัญแก่เขา โดยไม่เน้นในสิ่งที่เป็นเพียงการเพิ่มเติม ซึ่งในบางครั้งเขาอาจจะไม่สามารถจำหรือปฏิบัติได้ตามสภาพของเขา

อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า: ในหะดีษนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อมุฟตี (ผู้ออกคำตัดสินทางศาสนา) ถูกถามเกี่ยวกับบางเรื่อง และมีเรื่องอื่นที่ผู้ถามต้องการทราบแต่ไม่ได้ถามเกี่ยวกับมัน ควรที่เขาจะบอกกล่าวเรื่องนั้นแก่ผู้ถาม ซึ่งจะถือเป็นการให้คำแนะนำ ไม่ใช่การพูดในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง'"

ความประเสริฐของการยอมรับความบกพร่อง ดังที่เขาได้สารภาพว่า “ฉันไม่สามารถทำให้มันดีกว่านี้อีกแล้ว ดังนั้นโปรดสอนฉันด้วยเถิด”

อิบนุ ฮาญาร์ กล่าวว่า: ในหะดีษชี้ให้เห็นถึงการสั่งสอนสิ่งที่ถูกต้องและห้ามสิ่งที่ผิด และการที่ผู้เรียนขอให้ผู้รู้สอนเขา

การกล่าวสลามเมื่อพบกันเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และการตอบสลามเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้ยังควรกล่าวสลามซ้ำหากมีการพบกันหลายครั้ง แม้ว่าจะใกล้เคียงกับครั้งก่อน และการตอบสลามเป็นสิ่งที่ต้องทำในทุกครั้งที่มีการกล่าวสลาม

التصنيفات

คุณลักษณะของการละหมาด