หญิงใดก็ตามที่แต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของเธอ การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ (กล่าวซ้ำสามครั้ง)…

หญิงใดก็ตามที่แต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของเธอ การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ (กล่าวซ้ำสามครั้ง) แต่หากฝ่ายชายได้หลับนอนกับเธอแล้ว มะฮัร (สินสอด) ยังคงเป็นสิทธิ์ของเธอในสิ่งที่เขาได้จากเธอ หากเกิดความขัดแย้งกัน ผู้ปกครองของผู้ที่ไม่มีผู้ปกครองคือผู้นำ

จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: "หญิงใดก็ตามที่แต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของเธอ การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ (กล่าวซ้ำสามครั้ง) แต่หากฝ่ายชายได้หลับนอนกับเธอแล้ว มะฮัร (สินสอด) ยังคงเป็นสิทธิ์ของเธอในสิ่งที่เขาได้จากเธอ หากเกิดความขัดแย้งกัน ผู้ปกครองของผู้ที่ไม่มีผู้ปกครองคือผู้นำ"

[เศาะฮีห์]

الشرح

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เตือนผู้หญิงที่แต่งงานด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของนาง และการแต่งงานของนางถือเป็นโมฆะ และท่านนบีย้ำสามครั้งราวกับว่ามันไม่เคยเกิดขึ้น หากชายที่แต่งงานกับนางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองได้ร่วมหลับนอนกับนางแล้ว มะฮัรเต็มจำนวนจะเป็นสิทธิ์ของนางสำหรับการมีสัมพันธ์ทางเพศที่เกิดขึ้น จากนั้น หากบรรดาผู้ปกครองมีข้อขัดแย้งกันในเรื่องสิทธิ์ในการทำสัญญาแต่งงาน - และพวกเขามีสถานะเท่ากันในเรื่องสิทธิ์ดังกล่าว- สิทธิ์การแต่งงานจะเป็นของผู้ที่ดำเนินการก่อน หากเขามีความตั้งใจเพื่อประโยชน์ของเธอ (ฝ่ายเจ้าสาว) หากผู้ปกครองปฏิเสธที่จะแต่งงานให้ ก็ถือเสมือนว่าเธอไม่มีผู้ปกครอง ดังนั้นสุลต่านหรือผู้แทนของเขา เช่น ผู้พิพากษาหรือผู้มีตำแหน่งคล้ายกัน จะเป็นผู้ทำหน้าที่ผู้ปกครองของเธอ แต่หากผู้ปกครองมีอยู่ สุลต่านจะไม่มีสิทธิ์ทำหน้าที่ผู้ปกครอง

فوائد الحديث

ผู้ปกครองเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสมรสที่ถูกต้อง และมีรายงานจากอิบนุ อัล-มุนษิร ว่าไม่มีเศาะหาบะฮ์คนใดพูดเป็นอย่างอื่น

ในการแต่งงานที่ผิดพลาด ผู้หญิงคนนั้นสมควรได้รับสินสอด เนื่องจากการที่ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับเธอ

สุลตาลเป็นผู้ปกครองสำหรับสตรีไม่มีผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ปกครองไม่มีตัวตนเลย หรือเนื่องจากการที่เขาปฏิเสธที่จะแต่งงานให้กับเธอ

ผู้มีอำนาจถือเป็นผู้ปกครองของบุคคลที่ไม่มีผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้ปกครองสูญหายหรือไม่สามารถดูแลได้ และผู้พิพากษาจะเข้ารับหน้าที่แทน เพราะเขาเป็นตัวแทนของผู้มีอำนาจในเรื่องเหล่านี้

การมีผู้ปกครองในเรื่องการแต่งงานของสตรีไม่ได้หมายความว่าเธอไม่มีสิทธิ์ แต่เธอมีสิทธิ์ และผู้ปกครองของเธอจะไม่สามารถแต่งงานให้เธอได้หากไม่ได้รับอนุญาตจากเธอ

เงื่อนไขของการสมรสที่ถูกต้อง: ข้อแรก การระบุฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะโดยการชี้ การระบุชื่อ การอธิบายลักษณะ หรือวิธีอื่น ๆ ข้อที่สอง การที่ทั้งสองฝ่ายยินยอมซึ่งกันและกัน ข้อที่สาม การที่ผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นผู้ทำสัญญาให้ ข้อที่สี่ การมีพยานในการทำสัญญาสมรส

ผู้ปกครองที่ทำสัญญาการแต่งงานจะต้องมีเงื่อนไขดังนี้ : ประการแรก: มีสติสัมปชัญญะ ประการที่สอง: เป็นผู้ชาย ประการที่สาม: บรรลุศาสนภาวะ ด้วยการบรรลุอายุสิบห้าปีหรือฝันเปียก ประการที่สี่:การมีศาสนาเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจะไม่มีสิทธิ์เป็นผู้ปกครองของมุสลิมชายหรือหญิง เช่นเดียวกับที่มุสลิมจะไม่มีสิทธิ์เป็นผู้ปกครองของผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมชายหรือหญิง ข้อที่ห้า: ความยุติธรรมที่ขัดกับความชั่วช้า โดยเพียงพอที่เขาจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ที่เขาทำหน้าที่ปกครองในการแต่งงาน ข้อที่หก: ผู้ปกครองต้องเป็นผู้มีวุฒิภาวะ ไม่โง่เขลา และมีความสามารถในการพิจารณาความเหมาะสมและประโยชน์ของการแต่งงาน

ลำดับของผู้ปกครองฝ่ายหญิงในเรื่องการแต่งงานตามที่นักนิติศาสตร์กำหนดไว้ คือห้ามละเลยผู้ปกครองที่ใกล้ที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่เขาไม่อยู่หรือขาดคุณสมบัติ ผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเรียงลำดับดังนี้: พ่อของเธอ จากนั้นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากพ่อของเธอ จากนั้นปู่ของเธอฝ่ายพ่อที่สูงขึ้นหากมีสายสืบทอดขึ้นไป จากนั้นลูกชายของเธอ และลูกหลานของเขาหากมีสายสืบทอดลงไป จากนั้นพี่ชายร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน จากนั้นพี่ชายร่วมบิดา จากนั้นลูกหลานของพี่ชายที่ร่วมบิดา จากนั้นลุงที่ร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน จากนั้นลุงร่วมบิดา จากนั้นลูกหลานของลุง จากนั้นผู้ที่มีความใกล้ชิดมากขึ้นตามลำดับสายสัมพันธ์เช่นเดียวกับการรับมรดก ส่วนผู้มีอำนาจที่เป็นมุสลิมและผู้แทนของเขา เช่น ผู้พิพากษา จะเป็นผู้ปกครองของผู้ที่ไม่มีผู้ปกครอง

التصنيفات

การนิกาหฺ(การแต่งงาน)