إعدادات العرض
ขออัลลอฮ์ทรงให้ผู้ใดที่ได้ยินสิ่งใดจากเราและได้นำมันไปเผยแพร่ตามที่เขาได้ยินนั้น…
ขออัลลอฮ์ทรงให้ผู้ใดที่ได้ยินสิ่งใดจากเราและได้นำมันไปเผยแพร่ตามที่เขาได้ยินนั้น มีความรุ่งเรืองงดงาม เพราะบางทีผู้ที่ถ่ายทอดอาจเข้าใจได้ดียิ่งกว่าผู้ที่ได้ยินเอง
จากอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : ขออัลลอฮ์ทรงให้ผู้ใดที่ได้ยินสิ่งใดจากเราและได้นำมันไปเผยแพร่ตามที่เขาได้ยินนั้น มีความรุ่งเรืองงดงาม เพราะบางทีผู้ที่ถ่ายทอดอาจเข้าใจได้ดียิ่งกว่าผู้ที่ได้ยินเอง
الترجمة
العربية Bosanski English فارسی Français Bahasa Indonesia Русский Türkçe اردو 中文 हिन्दी Español Hausa Kurdî Português සිංහල Kiswahili অসমীয়া Tiếng Việt ગુજરાતી Nederlands አማርኛ മലയാളം Românăالشرح
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้วิงวอนขอให้อัลลอฮ์ประทานความงดงาม ความสุข และความดีงามในโลกนี้ และขอให้อัลลอฮ์นำพาเขาไปสู่ความงดงามและความสุขในสวนสวรรค์ในวันอาคิเราะฮ์ สำหรับผู้ที่ได้ยินหะดีษของท่านและจดจำมันไว้จนสามารถเผยแพร่ต่อผู้อื่นได้ เพราะบางครั้งผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดหะดีษอาจมีความเข้าใจลึกซึ้งกว่า มีวิจารณญาณ และสามารถวินิจฉัยหลักคำสอนได้ดีกว่าผู้ถ่ายทอดหะดีษ ดังนั้น ผู้ถ่ายทอดอาจมีความชำนาญในการจดจำและถ่ายทอด ส่วนผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดอาจมีความชำนาญในด้านความเข้าใจและการวินิจฉัย.فوائد الحديث
ส่งเสริมให้ท่องจำซุนนะฮ์ของท่านศาสดาและถ่ายทอดให้กับผู้คน
ชี้แจงถึงคุณูปการและความประเสริฐของบรรดานักหะดีษ และเกียรติอันสูงส่งของการแสวงหาหะดีษ
ความประเสริฐของบรรดานักปราชญ์ ผู้ที่มีความเชียวชาญในด้านการถอดความและการทำความเข้าใจได้ดี
ความประเสริฐของบรรดาสาวก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็คือพวกเขาคือผู้ที่ได้ยินฮะดีษของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และถ่ายทอดมันให้กับพวกเรา
อัลมุนาวี : ได้ชี้แจงว่า ผู้รายงานหะดีษนั้น การทำความเข้าใจไม่ใช่เงื่อนไขของเขา แต่เงื่อนไขของเขาคือ การจดจำ (หะฟัซ) ส่วนหน้าที่ของนักนิติศาสตร์คือการ ทำความเข้าใจ และ ไตร่ตรองพิจารณา (ตะฟัฮุมและตะดับบุร)
อิบนุ อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า: ไม่มีผู้ใดที่แสวงหาหะดีษ เว้นแต่ว่าในใบหน้าของเขาจะปรากฏความเปล่งปลั่งและความสดใส อันเนื่องมาจากหะดีษนี้
**"การจดจำ (الحِفْظ) ในมุมมองของนักหะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท: 1.การท่องจำให้ขึ้นใจ (حِفْظ قَلْب وصَدْر) 2.การจดจำผ่านการบันทึกในหนังสือและบรรทัด (حِفظ كتاب وسَطْر)
และทั้งสองประเภทนี้ถูกรวมอยู่ในคำวิงวอน (ดุอาอ์) ที่กล่าวถึงในหะดีษ"
ความเข้าใจของผู้คนแตกต่างกันออกไป บางทีผู้ที่ถ่ายทอดอาจมีความเข้าใจมากกว่าผู้ฟัง และอาจมีบุคคลที่ถือหลักนิติศาสตร์ที่ไม่ใช่นักกฎหมาย