สิ่งหนึ่งที่ฉันกังวลสำหรับพวกท่านหลังจากฉัน คือความหรูหราและความสุขสบายของโลกที่ถูกเปิดให้กับพวกท่าน

สิ่งหนึ่งที่ฉันกังวลสำหรับพวกท่านหลังจากฉัน คือความหรูหราและความสุขสบายของโลกที่ถูกเปิดให้กับพวกท่าน

จากอบูสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: วันหนึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้นั่งบนมิมบัร ในขณะที่พวกเรานั่งล้อมรอบท่าน ท่านกล่าวว่า :"สิ่งหนึ่งที่ฉันกังวลสำหรับพวกท่านหลังจากฉัน คือความหรูหราและความสุขสบายของโลกที่ถูกเปิดให้กับพวกท่าน"มีชายคนหนึ่งถามว่า: "โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ! ความดีจะนำมาซึ่งความชั่วได้หรือ?"แต่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมไม่ตอบ และมีคนกล่าวกับชายผู้นั้นว่า:"เกิดอะไรขึ้นกับท่าน? ท่านถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แต่ท่านไม่ตอบ"จากนั้นพวกเราเห็นว่าเหมือนกับวะฮีถูกประทานลงมายังท่าน ท่านจึงเช็ดเหงื่อของท่านและถามว่า: "ใครคือผู้ถาม?" เสมือนว่าท่านสรรเสริญพระเจ้า และกล่าวว่า: "ความดีที่แท้จริงจะไม่ก่อให้เกิดความชั่ว แต่ว่า บางสิ่งที่งอกงามในฤดูใบไม้ผลิอาจนำไปสู่ความตายหรือใกล้จะถึงจุดนั้น ยกเว้นสัตว์ที่กินหญ้าสีเขียว มันกินจนเต็มท้อง เมื่อสะโพกของมันขยายใหญ่ มันจะหันหน้าไปสู่แสงแดด จากนั้นก็ถ่ายของเสียและปัสสาวะ และกลับไปเล็มหญ้าอีก แท้จริง ทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งที่เขียวขจีและหวานฉ่ำ ดังนั้นทรัพย์สินที่ดีที่สุดสำหรับผู้ศรัทธาคือทรัพย์ที่เขานำไปช่วยเหลือคนยากจน เด็กกำพร้า และผู้เดินทาง - หรือดังที่ท่านนบี ﷺ ได้กล่าวไว้ - แต่ผู้ที่ได้มาซึ่งทรัพย์โดยมิชอบเปรียบเสมือนคนที่กินแต่ไม่อิ่ม และในวันกิยามะฮฺ ทรัพย์สินนั้นจะกลายเป็นพยานที่กล่าวโทษเขา"

[เศาะฮีห์] [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม]

الشرح

วันหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั่งบนธรรมาสน์พูดคุยกับสหายของเขา โดยกล่าวว่า: แท้จริง สิ่งที่ฉันกังวลและกลัวสำหรับพวกท่านมากที่สุดหลังจากฉัน คือสิ่งที่ถูกเปิดออกให้แก่พวกท่านจากความจำเริญของผืนแผ่นดิน ความงดงามของโลก ความหรูหรา ความรื่นรมย์ และสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในนั้น เช่น เครื่องนุ่งห่ม พืชผล และอื่นๆ ที่ผู้คนภาคภูมิใจในความงดงามของมัน ทั้งที่มันเป็นสิ่งที่มีอายุสั้น ชายคนหนึ่งพูดว่า: ความเจริญของโลกคือความโปรดปรานจากพระเจ้า ความโปรดปรานนี้จะกลับมาและกลายเป็นคำสาปและการลงโทษหรือ?! แล้วผู้คนตำหนิชายผู้ถามคำถามนั้น เมื่อพวกเขาเห็นว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเงียบไป และพวกเขาคิดว่าท่านไม่พอใจเขา ปรากฏชัดว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกำลังรับวะฮยู (การประทานวิวรณ์) จากอัลลอฮ์ จากนั้นท่านก็เริ่มเช็ดเหงื่อบนหน้าผากของท่าน และกล่าวว่า 'ผู้ถามอยู่ที่ไหน? เขากล่าวว่า : ฉันเอง ดังนั้นท่านจึงสรรเสริญพระเจ้า แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: "ความดีที่แท้จริงจะมาพร้อมกับความดีเท่านั้น แต่ดอกไม้เหล่านี้ไม่ใช่ความดีล้วน เพราะมันนำไปสู่ความวุ่นวาย การแข่งขัน และการหมกมุ่นจนทำให้หลงลืมการมุ่งไปสู่ชีวิตหลังความตาย จากนั้นท่านจึงยกตัวอย่างว่า พืชในฤดูใบไม้ผลิและพืชสีเขียว เป็นหนึ่งในพืชซึ่งสัตว์เลี้ยงชื่นชอบ แต่จะทำให้มันตายจากการกินมากเกินไปจนท้องบวมหรือเกือบจะตาย ยกเว้นสัตว์ที่กินหญ้า จนท้องของมันเต็มทั้งสองข้าง แล้วหันหน้าตามแดดและปล่อยสิ่งที่มันกลืนลงไปเป็นของเหลวหรือมีมูก ออกมา หลังจากนั้นมันก็ย่อยสิ่งที่มันกลืนไปและกลืนมันลงไปใหม่ แล้วจึงกลับมากินอีกครั้ง. ทรัพย์สมบัตินั้นเปรียบเสมือนผักใบเขียวที่สดหวาน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตหรือเกือบถึงแก่ความตายได้หากสะสมไว้มากเกินไป ยกเว้นเพียงแต่ว่าเขาจะใช้มันในปริมาณเล็กน้อยตามที่จำเป็นและเพียงพอเพื่อสนองความต้องการโดยชอบธรรม ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดโทษแต่อย่างใด และทรัพย์สินนั้นก็เป็นเพื่อนที่ดีของผู้ศรัทธา หากเขานำมันไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ เด็กกำพร้า และคนเดินทางที่ขัดสน และผู้ใดที่ได้มันมาอย่างถูกต้อง ทรัพย์นั้นก็จะได้รับความจำเริญแก่เขา แต่ผู้ใดได้มันมาโดยมิชอบ ก็เปรียบเสมือนคนที่กินแล้วไม่รู้จักอิ่ม และทรัพย์นั้นจะกลายเป็นพยานเอาผิดเขาในวันกิยามะฮ์

فوائد الحديث

อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า: (หะดีษนี้)ชี้ให้เห็น : ความประเสริฐของทรัพย์สินสำหรับผู้ที่ได้รับมันในทางที่ถูกต้องและใช้จ่ายไปในทางที่ดี

"เป็นการบอกกล่าวจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมถึงสภาพของประชาชาติของท่าน และสิ่งที่จะถูกเปิดเผยให้แก่พวกเขาจากความงดงามและเสน่ห์ของชีวิตทางโลก รวมถึงการทดสอบที่มาพร้อมกับสิ่งเหล่านั้น"

จากแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมคือการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อทำให้ความหมายชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น

ส่งเสริมการกุศลและใช้ทรัพย์สินทำความดีและเตือนไม่ให้ตระหนี่

ถอดความจากสำนวนหะดีษที่ว่า “ความดีไม่นำความชั่วมาให้” การมีปัจจัยยังชีพ แม้ว่าจะมากมายเพียงใด ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความดี แต่ความชั่วอาจเกิดขึ้นได้จากการเหนี่ยวรั้งทรัพย์ไว้ไม่แบ่งปันให้ผู้ที่สมควรได้รับ หรือจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในสิ่งที่ไม่ชอบธรรม ทั้งนี้ สิ่งใดที่อัลลอฮ์ทรงกำหนดให้เป็นความดี จะไม่กลายเป็นความชั่ว และในทางกลับกัน แต่ควรระวังว่าผู้ที่ได้รับความดีอาจเผชิญกับอุปสรรคในการจัดการสิ่งนั้นจนกลายเป็นเหตุแห่งความชั่วได้"

การละเว้นความเร่งรีบในการตอบ หากเรื่องนั้นต้องการการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

อัฏ-ฏ็อยบีย์ กล่าวว่า : จากหะดีษนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภท คือ ผู้ที่กินด้วยความเอร็ดอร่อยเกินขอบเขตและลุ่มหลงจนซี่โครงพองโตและไม่หยุดยั้งสุดท้ายความหายนะก็เกิดขึ้นกับเขาอย่างรวดเร็ว ผู้ที่กินเช่นเดียวกัน แต่พยายามหาวิธีแก้ไขเพื่อขจัดโทษหลังจากที่มันรุนแรงขึ้น ทว่าก็ไม่อาจต้านทานได้จนต้องพบกับความหายนะ ผู้ที่กินเช่นเดียวกัน แต่รีบเร่งขจัดสิ่งที่เป็นโทษและหาทางป้องกันจนกระทั่งอาหารย่อยได้ดีและเขาปลอดภัย ผู้ที่กินโดยไม่เกินขอบเขตหรือหลงใหลมากเกินไป แต่กินเพียงพอที่จะระงับความหิวและประคองชีวิต

ประเภทแรกเปรียบได้กับผู้ปฏิเสธศรัทธา ประเภทที่สองเปรียบได้กับผู้กระทำบาปที่ประมาทและลืมการสำนึกผิดจนกระทั่งหมดโอกาส

ประเภทที่สามเปรียบได้กับผู้ที่กระทำผิดแต่รีบเร่งกลับเนื้อกลับตัวและการสำนึกผิดนั้นได้รับการยอมรับ ประเภทที่สี่เปรียบได้กับผู้ละทิ้งความหลงใหลในโลกนี้และมุ่งมั่นต่อวันกียามะฮ์

อิบนุ อัล-มูนีร กล่าวว่า: ในหะดิษนี้มีการเปรียบเทียบที่สวยงามหลายประการ ได้แก่: ประการแรก การเปรียบเทียบระหว่างทรัพย์สินและการเจริญเติบโตเหมือนกับพืชและการงอกงามของมัน, ประการที่สอง การเปรียบเทียบผู้ที่หมกมุ่นในการหาเลี้ยงชีพกับสัตว์ที่หมกมุ่นกับหญ้า, ประการที่สาม การเปรียบเทียบการสะสมทรัพย์และการเก็บรักษาเหมือนกับความโลภในการกินจนท้องอิ่ม, ประการที่สี่ การเปรียบเทียบการใช้จ่ายทรัพย์ที่มีค่าจนทำให้เกิดความโลภในการหวงแหนเหมือนกับสิ่งที่สัตว์ทิ้งออกมาจากร่างกาย ซึ่งเป็นการแสดงถึงการถือว่าทรัพย์สินเหล่านั้นสกปรกในทางศาสนา, ประการที่ห้า การเปรียบเทียบผู้ที่หยุดเก็บทรัพย์เหมือนกับแพะที่พักผ่อนโดยหันข้างหันหน้าไปทางแดด ซึ่งเป็นสภาพที่ดีที่สุดของมันในการพักผ่อนและการรับรู้ถึงผลประโยชน์, ประการที่หก การเปรียบเทียบการตายของผู้ที่สะสมทรัพย์โดยไม่ยอมจ่ายมันออกไปเหมือนกับการตายของสัตว์ที่ไม่ระวังสิ่งที่จะทำอันตรายตัวเอง, ประการที่เจ็ด การเปรียบเทียบทรัพย์สินกับเพื่อนที่ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าไม่กลายเป็นศัตรู เนื่องจากทรัพย์สินมักถูกเก็บรักษาอย่างแน่นหนาเพราะรักมัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการปฏิเสธสิ่งที่ควรจะได้รับและเป็นสาเหตุให้เจ้าของทรัพย์นั้นได้รับการลงโทษ, และประการที่แปด การเปรียบเทียบผู้ที่รับทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมเหมือนกับผู้ที่กินแต่ไม่อิ่ม

อัล-ซินดีย์ กล่าวว่า: มีสองสิ่งที่จำเป็นในหะดิษนี้ ประการแรก: การสะสมทรัพย์สินด้วยวิธีที่ถูกต้อง ประการที่สอง: การใช้ทรัพย์สินในที่ที่เหมาะสม เมื่อไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น มันจะกลายเป็นความเสียหาย ... สามารถกล่าวได้ว่า ในที่นี้มีการชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสองเงื่อนไขนี้ เพราะไม่มีใครที่จะได้รับการช่วยเหลือให้ใช้มันในทางที่ถูกต้อง เว้นแต่จะได้รับมันด้วยวิธีที่ถูกต้อง

التصنيفات

การตำหนิการรักดุนยา