พวกเจ้าทั้งหลายจงอย่าอิจฉาริษยากัน จงอย่าคดโกงกัน จงอย่าเกลียดชังกัน จงอย่าทะเลาะกัน…

พวกเจ้าทั้งหลายจงอย่าอิจฉาริษยากัน จงอย่าคดโกงกัน จงอย่าเกลียดชังกัน จงอย่าทะเลาะกัน และอย่าซื้อขายทับซ้อนข้อเสนอของกันและกัน และขอให้พวกท่านทั้งหลายเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ที่มีความรักฉันท์พี่น้องกัน

จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: "พวกเจ้าทั้งหลายจงอย่าอิจฉาริษยากัน จงอย่าคดโกงกัน จงอย่าเกลียดชังกัน จงอย่าทะเลาะกัน และอย่าซื้อขายทับซ้อนข้อเสนอของกันและกัน และขอให้พวกท่านทั้งหลายเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ที่มีความรักฉันท์พี่น้องกัน มุสลิมด้วยกันนั้นคือพี่น้องกัน จะต้องไม่ทำร้ายกัน ไม่ทำให้เขาต้องเสียใจ ไม่ดูถูกเหยียดหยามกัน ความยำเกรง(ตักวา)นั้นอยู่ตรงนี้"แล้วท่านนบีก็ชี้ที่หน้าอกของท่านสามครั้ง และท่านกล่าวต่อไปอีกว่า "เป็นการเพียงพอแล้วที่จะเรียกว่า คนเลว สำหรับคนที่ดูถูกเหยียดหยามพี่น้องมุสลิมด้วยกัน มุสลิมทุกคนจะต้องได้รับการคุ้มครองไว้ ซึ่งชีวิต ทรัพย์สินและเกียรติของเขา”

[เศาะฮีห์] [รายงานโดย มุสลิม]

الشرح

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งเสียให้มุสลิมทำดีต่อพี่น้องมุสลิมของเขา และอธิบายหน้าที่และมารยาทบางประการที่เขาต้องทำมันต่อพวกเขา ได้แก่: ประการแรก: อย่าอิจฉาต่อกัน โดยเป็นการปรารถนาให้ความโปรดปรานของผู้อื่นสูญสิ้นไป ประการที่สอง: อย่าคดโกงกัน โดยที่ขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เขาไม่ต้องการซื้อมัน แต่เขาต้องการสร้างประโยชน์ให้กับผู้ขายหรือทำร้ายผู้ซื้อ ประการที่สาม: อย่าเกลียดชังกันซึ่งหมายถึง ความปรารถนาให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อันเป็นสิ่งตรงข้ามกับความรัก เว้นแต่การเกลียดชังเพื่ออัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่จำเป็นต้องปฏิบัติ ประการที่สี่: อย่าหันหลังให้กัน โดยการที่แต่ละคนในหมู่พวกท่านหันหลังให้พี่น้องของเขา แสดงการเมินเฉย และตัดสัมพันธ์จากเขา ประการที่ห้า: ไม่ควรให้ผู้ใดขายสินค้าทับการขายของผู้อื่น โดยการพูดกับผู้ที่ซื้อสินค้าไปแล้วว่า: "ฉันมีสินค้าประเภทเดียวกันในราคาที่ถูกกว่า" หรือ "ฉันมีสินค้าที่คุณภาพดีกว่าในราคาเดียวกัน" แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวสั่งเสีย โดยเป็นการสั่งเสียที่ครอบคลุมว่า: จงเป็นเหมือนพี่น้องกัน โดยการละเว้นสิ่งที่ถูกห้ามไว้ และโดยการมอบความรักใคร่ ความอ่อนโยน ความเมตตา ความเอาใจใส่ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในความดี พร้อมกับการมีจิตใจที่บริสุทธิ์ และการให้คำแนะนำที่จริงใจในทุกสถานการณ์ และจากข้อพึงปฏิบัติที่เป็นผลมาจากความเป็นพี่น้องนี้คือ: คือการที่เขาจะต้องไม่อธรรมต่อพี่น้องมุสลิมของเขา และไม่ละเมิดสิทธิของเขา และไม่ปล่อยให้พี่น้องมุสลิมของเขาถูกอธรรม และปล่อยให้เขาตกต่ำลงในสถานะที่สามารถช่วยเหลือเขาได้ และขจัดการอธรรมไปจากเขา และอย่าดูหมิ่นเขา และมองดูเขาด้วยความรังเกียจและดูถูก อันเนื่องจากความโอหัง จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อธิบายสามครั้งว่า ความยำเกรงนั้นอยู่ที่หัวใจ และใครก็ตามที่มีความยำเกรงในหัวใจก็จะนำไปสู่การมีมารยาทที่ดี ความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ และการรู้ว่าอัลลอฮ์ทรงเฝ้ามองเขาอยู่ เขาจะไม่ดูถูกพี่น้องมุสลิมของเขา และถือว่าเพียงพอแล้วกับคุณสมบัติที่ชั่วร้าย และมารยาทที่ไม่ดี ด้วยการดูหมิ่นพี่น้องมุสลิมด้วยกัน นี่เป็นเพราะความโอหังที่มีในหัวใจของเขา จากนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยืนยันสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าทุกสิ่งเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิมต่อมุสลิมด้วยกันนั้นคือ : เลือดของเขา: โดยการทำร้ายเขาด้วยการฆ่าหรืออะไรก็ตามที่น้อยกว่านั้น เช่น การทำร้ายร่างกาย การทุบตี และอื่นๆ ที่คล้ายกัน เช่นเดียวกันทรัพย์สมบัติของเขา: โดยเอามันไปจากเขาอย่างอธรรม และเช่นเดียวกันเกียรติของเขาอ: โดยการดูหมิ่นเขาหรือเชื้อสายของเขา

فوائد الحديث

การส่งเสริมให้กระทำทุกสิ่งที่ความเป็นพี่น้องในศรัทธาเรียกร้อง และการห้ามกระทำสิ่งใดที่ขัดแย้งกับความเป็นพี่น้องนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ

แก่นสำคัญของตักวาคือสิ่งที่อยู่ในหัวใจ ได้แก่ การรู้จักอัลลอฮ์ ความยำเกรงต่อพระองค์ และการตระหนักว่าพระองค์ทรงเฝ้ามองเราอยู่ ซึ่งตักวานี้จะนำไปสู่การกระทำความดีต่าง ๆ

การเบี่ยงเบนที่ชัดเจนนั้น บ่งชี้ถึงความยำเกรงที่อ่อนแอ

ห้ามมิให้ทำร้ายมุสลิมในทางใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ

ไม่ถือว่าเป็นความอิจฉา หากมุสลิมปรารถนาที่จะเป็นเหมือนผู้อื่น โดยไม่ปรารถนาให้สิ่งดี ๆ ที่ผู้อื่นมีสูญหายไปจากเขา สิ่งนี้เรียกว่า "ฆิบเฏาะฮ์" ซึ่งเป็นสิ่งที่อนุญาต และช่วยส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันในความดีต่าง ๆ

มนุษย์โดยธรรมชาติมักไม่ชอบให้ใครเหนือกว่าตนในเรื่องคุณงามความดีใด ๆ หากเขาปรารถนาให้สิ่งดี ๆ นั้นสูญหายไปจากผู้อื่น นั่นคือ "ความอิจฉา" ที่ถูกตำหนิ แต่หากเขาปรารถนาที่จะแข่งขันเพื่อให้ได้สิ่งดี ๆ เช่นนั้น นั่นคือ"ฆิบเฏาะฮ์" ที่อนุญาต

การบอกให้ผู้ซื้อทราบว่าเขาถูกหลอกลวงในการซื้อขายอย่างไม่ยุติธรรม ไม่ถือว่าเป็นการขายทับการขายของพี่น้องมุสลิม ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ในการให้คำแนะนำที่ดีโดยมีเงื่อนไขว่า

เจตนาต้องมุ่งหวังเพื่อแนะนำผู้ซื้อ ไม่ใช่เพื่อทำร้ายหรือก่อความเสียหายต่อผู้ขาย เพราะการกระทำต่าง ๆขึ้นอยู่กับเจตนา

ไม่ถือว่าเป็นการขายทับการขายของพี่น้องมุสลิม หากผู้ขายทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ตกลงกันอย่างพึงพอใจและราคายังไม่แน่นอน

ความเกลียดชังที่ไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้ามในหะดีษนี้ คือ: ความเกลียดชังเพื่อพระเจ้า เพราะมันเป็นข้อบังคับและเป็นหนึ่งในการศรัทธาที่แข็งแกร่งที่สุด

التصنيفات

มารยาทดีงามที่น่าชื่นชม, การขัดเกลาจิตใจ