إعدادات العرض
โอ้มนุษย์ทั้งหลาย จงกลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺ เถิด เพราะแท้จริงฉัน…
โอ้มนุษย์ทั้งหลาย จงกลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺ เถิด เพราะแท้จริงฉัน กลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์วันละร้อยครั้ง
จากท่านอัลอะฆ็อรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาเศาะฮาบะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า: "โอ้มนุษย์ทั้งหลาย จงกลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺ เถิด เพราะแท้จริงฉัน กลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์วันละร้อยครั้ง"
الترجمة
العربية বাংলা Bosanski English Español Bahasa Indonesia Türkçe اردو 中文 हिन्दी Français Kurdî Português සිංහල Русский Kiswahili Tiếng Việt অসমীয়া ગુજરાતી Hausa Nederlands አማርኛ മലയാളം Românăالشرح
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้สั่งเสียแก่ประชาชนให้ทำการเตาบะฮฺ (กลับเนื้อกลับตัว) และขออภัยโทษจากอัลลอฮฺให้มาก ๆ พร้อมทั้งบอกเกี่ยวกับตัวของท่านเองว่า ท่านกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺ และขออภัยโทษจากพระองค์ในแต่ละวันมากกว่าร้อยครั้ง ทั้งที่ความผิดในอดีตและอนาคตของท่านนั้นได้ถูกอภัยแล้ว ในสิ่งนี้คือความสมบูรณ์ของการแสดงความนอบน้อมและการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่งفوائد الحديث
"มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีสถานะหรือระดับในความศรัทธาเพียงใดก็ตาม ย่อมต้องการที่จะกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง และต้องทำให้ตัวเองสมบูรณ์ด้วยการเตาบะฮฺ (การกลับเนื้อกลับตัว) เนื่องจากทุกคนย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีข้อบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ต่อพระเจ้า ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า:
(และพวกเจ้าจงกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺโดยพร้อมเพรียงกันเถิด โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย)"
"การเตาบะฮฺ (การกลับเนื้อกลับตัว) นั้นเป็นเรื่องทั่วไป ครอบคลุมทั้งการกลับเนื้อกลับตัวจากการกระทำสิ่งต้องห้ามและบาป รวมถึงการกลับเนื้อกลับตัวจากการละเลยหรือบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ที่วาญิบด้วย"
"ความบริสุทธิ์ใร (อิคลาศ) ในการเตาบะฮฺเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การเตาบะฮฺถูกตอบรับ ดังนั้น ผู้ที่ละทิ้งบาปโดยไม่ได้ทำเพื่ออัลลอฮฺ ย่อมไม่ถือว่าเป็นผู้ที่ได้เตาบะฮฺอย่างแท้จริง"
อิมามอันนะวาวีย์ กล่าวว่า: การเตาบะฮฺมีเงื่อนไข 3 ประการ คือ
1.ต้องเลิกกระทำบาปนั้นโดยทันที
2.ต้องรู้สึกเสียใจในสิ่งที่ได้กระทำไป
3.ต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่กลับไปกระทำบาปนั้นอีกตลอดไป
และหากบาปนั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้อื่น มีเงื่อนไขเพิ่มอีกข้อหนึ่ง คือ:
4. ต้องคืนสิ่งที่ได้ละเมิดต่อเจ้าของสิทธิ หรือขอให้เขายกโทษให้
"เตือนให้ระวังว่าการที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺนั้น ไม่ได้หมายความว่าท่านได้กระทำบาป แต่เป็นการแสดงถึงความสมบูรณ์ของการเป็นบ่าวที่แท้จริง และการยึดมั่นอยู่กับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซิกรุลลอฮฺ) อีกทั้งยังเป็นการตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ของสิทธิของอัลลอฮฺ และข้อบกพร่องของบ่าว แม้ว่าเขาจะพยายามขอบคุณต่อความโปรดปราณของพระองค์มากเพียงใดก็ตาม นอกจากนี้ ยังเป็นการวางบทบัญญัติแก่ประชาชาติของท่านหลังจากท่าน และรวมถึงประโยชน์อันลึกซึ้งอื่น ๆ อีกมากมาย"