ห้ามการนะซัร คือ โดยท่านกล่าวว่า “มันไม่ได้นำมาซึ่งความดี แต่มันจะถูกดึงออกมาใช้จากคนตระหนี่”

ห้ามการนะซัร คือ โดยท่านกล่าวว่า “มันไม่ได้นำมาซึ่งความดี แต่มันจะถูกดึงออกมาใช้จากคนตระหนี่”

จากท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา รายงานว่า: จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แท้จริงแล้วท่านห้ามการนะซัร คือ โดยท่านกล่าวว่า “มันไม่ได้นำมาซึ่งความดี แต่มันจะถูกดึงออกมาใช้จากคนตระหนี่”

[เศาะฮีห์] [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม]

الشرح

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามมิให้กระทำการบนซึ่งหมายถึงการที่บุคคลผูกพันตนเองให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ศาสนบัญญัติไม่ได้กำหนดให้เขาต้องปฏิบัติ ท่านกล่าวว่า การบนไม่ทำให้เกิดสิ่งใดเร็วขึ้นหรือช้าลง แต่การบนทำให้ได้สิ่งหนึ่งจากคนตระหนี่ที่ไม่ยอมทำสิ่งใดนอกจากสิ่งที่เป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น และการบนไม่ได้ทำให้เกิดสิ่งใดใหม่ที่มิได้ถูกกำหนดไว้แล้ว

فوائد الحديث

ศาสนาไม่ได้กำหนดให้ต้องทำการบนบาน แต่ถ้าเขาให้บนบานไปแล้ว จะต้องปฏิบัติตามหากไม่ทำตามก็จะถือว่าเป็นบาป

เหตุผลที่ห้ามการบนบาน (คือมันไม่นำสิ่งดีมาให้) เพราะมันไม่สามารถยับยั้งการกำหนดของอัลลอฮ์ได้ และเพื่อไม่ให้ผู้ที่บนบานคิดว่าการที่เขาได้รับสิ่งที่ขอนั้นเป็นเพราะการบนบาน แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ต้องการสิ่งนั้นเลย

อัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า:การห้ามในบทหะดีษนั้นคือในกรณีที่มีการกล่าว เช่นว่า : ถ้าอัลลอฮ์ทรงรักษาคนป่วยของฉันให้หาย ฉันจะบริจาคเงินเป็นทานจำนวนเท่านี้ สาเหตุที่การกระทำนี้ถูกตำหนิ เพราะเมื่อมีการกำหนดการทำความดีบางอย่างบนเงื่อนไขของการบรรลุเป้าหมายบางอย่าง มันก็แสดงให้เห็นว่าคนคนนั้นไม่ได้มีเจตนาที่บริสุทธิ์ในการทำความดีเพื่อใกล้ชิดกับอัลลอฮ์จริงๆ แต่กลับทำให้การกระทำนั้นเป็นเหมือนการแลกเปลี่ยนมากกว่า สิ่งนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อพิจารณาว่าหากคนป่วยของเขาไม่ได้รับการรักษาหาย เขาก็จะไม่ทำการบริจาคที่เขาได้ผูกติดไว้กับการรักษานั้น ซึ่งนี่เป็นสภาพของคนตระหนี่ ที่จะไม่ยอมสละทรัพย์สินของตัวเอง เว้นแต่จะได้รับสิ่งตอบแทนในทันทีที่มักจะมีมูลค่าสูงกว่าสิ่งที่เขาให้ไปเสียอีก

التصنيفات

การสาบานและการบนบาน