إعدادات العرض
“ความดีคือมีมารยาทที่ดี ส่วนบาปคือสิ่งที่ทำให้ใจของเจ้ากระวนกระวาย…
“ความดีคือมีมารยาทที่ดี ส่วนบาปคือสิ่งที่ทำให้ใจของเจ้ากระวนกระวาย และเจ้าไม่ต้องการให้ผู้คนรับรู้ถึงสิ่งนั้น
อัน-เนาวัส บิน สิมอาน อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ฉันได้ถามท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับความความดีและบาป และท่านกล่าวว่า: “ความดีคือมีมารยาทที่ดี ส่วนบาปคือสิ่งที่ทำให้ใจของเจ้ากระวนกระวาย และเจ้าไม่ต้องการให้ผู้คนรับรู้ถึงสิ่งนั้น"
الترجمة
العربية বাংলা Bosanski English Español فارسی Bahasa Indonesia Tagalog Türkçe اردو 中文 हिन्दी Français Hausa Kurdî Português සිංහල Русский Nederlands Tiếng Việt অসমীয়া ગુજરાતી Kiswahili አማርኛ پښتوالشرح
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับความดีและบาป และท่านตอบว่า: คุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของความความดีคือการประพฤติตนที่ดีต่อพระเจ้าด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ และต่อผู้คนผ่านการอดทนต่ออันตราย การยังยั้งความโกรธ ใบหน้าที่ร่าเริง คำพูดที่ดี การเชื่อมความสัมพันธ์ เชื่อฟัง และมีความสุภาพอ่อนโยน ใจกว้าง และการอยู่ร่วมกันอย่างดีและเป็นมิตร ส่วนบาปนั้นคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกระวนกระวายในจิตใจจากสิ่งที่น่าสงสัยและลังเล โดยไม่มีความสบายใจเกิดขึ้นในใจ นำมาซึ่งความเคลือบแคลงสงสัยในหัวใจ และกลัวว่าสิ่งนั้นอาจเป็นบาป และไม่ต้องการเปิดเผยให้ผู้คนเห็น เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีในสายตาของผู้มีเกียรติและบุคคลผู้เพียบพร้อม เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว จิตใจของมนุษย์ย่อมชอบให้ผู้อื่นรับรู้ถึงความดีของตน ดังนั้น หากจิตใจไม่ต้องการให้คนอื่นเห็นในบางการกระทำของตน ก็แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นบาป ไม่มีความดีอยู่ในนั้นفوائد الحديث
ส่งเสริมศีลธรรมอันดี เพราะอุปนิสัยที่ดีเป็นคุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประการหนึ่งของความดี
ความจริงและความเท็จนั้นไม่เป็นสิ่งที่คลุมเครือสำหรับผู้ศรัทธา เพราะเขารู้จักความจริงด้วยแสงสว่างในหัวใจของเขา และเขาจะรังเกียจความเท็จและปฏิเสธมัน
หนึ่งในสัญญาณของบาปคือ ความไม่สบายใจและความกระวนกระวายในหัวใจ และการไม่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ถึงสิ่งนั้น
อัล-ซินดี กล่าวว่า: "หะดีษนี้หมายถึงเรื่องที่คลุมเครือ ซึ่งผู้คนไม่สามารถชี้ชัดได้ในด้านใดด้านหนึ่ง; หากเป็นสิ่งที่ศาสนาบัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าเป็นความดี ก็ให้ปฏิบัติตาม และหากศาสนาห้ามไว้โดยชัดเจนว่าเป็นบาป ก็ให้ละเว้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการปรึกษากับจิตใจหรือความสบายใจในเรื่องนั้น ๆ
ผู้ที่ถูกกล่าวถึงในหะดีษนี้คือผู้ที่มีสัญชาตญาณอันบริสุทธิ์ ไม่ใช่ผู้ที่มีหัวใจกลับด้าน ซึ่งไม่รู้จักสิ่งดีงามและไม่ปฏิเสธสิ่งชั่วร้าย เว้นแต่สิ่งที่สอดคล้องกับอารมณ์และความปรารถนาของพวกเขาเท่านั้น
อัต-ต็อยบีย์ "มีผู้กล่าวว่า ความดี (البر) ในหะดีษนี้ถูกตีความไปหลายความหมาย ในบางแห่งความดีถูกอธิบายว่าเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจสงบและหัวใจรู้สึกสบายใจ ในบางแห่งหมายถึงศรัทธา อีกบางแห่งหมายถึงสิ่งที่ทำให้เจ้าผู้ปฏิบัติใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ และในที่นี้หมายถึงการมีคุณธรรมที่ดี ซึ่งคำว่า ‘คุณธรรมที่ดี’ นั้นอธิบายว่าเป็นการอดทนต่อการถูกทำร้าย มีความโกรธน้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส และมีถ้อยคำที่ไพเราะ ทั้งหมดนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน"