إعدادات العرض
พวกท่านจงอย่ากล่าวคำว่า: “มาชาอัลลอฮ์ วะชาอะ ฟุลาน” (เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคนนั้น)…
พวกท่านจงอย่ากล่าวคำว่า: “มาชาอัลลอฮ์ วะชาอะ ฟุลาน” (เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคนนั้น) แต่จงกล่าวว่า “มาชาอัลลอฮ์ ษุมมะ มาชาอะ ฟุลาน” (มันเป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์จากนั้นเป็นความประสงค์ของคนนั้น)
จากท่านหุซัยฟะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: "พวกท่านจงอย่ากล่าวคำว่า: “มาชาอัลลอฮ์ วะชาอะ ฟุลาน” (เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคนนั้น) แต่จงกล่าวว่า “มาชาอัลลอฮ์ ษุมมะ มาชาอะ ฟุลาน” (มันเป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์จากนั้นเป็นความประสงค์ของคนนั้น)"
الترجمة
العربية বাংলা Bosanski English Español فارسی Français Bahasa Indonesia Русский Tagalog Türkçe اردو 中文 हिन्दी ئۇيغۇرچە Hausa Kurdî Kiswahili Português සිංහල Svenska Čeština ગુજરાતી አማርኛ Yorùbá Tiếng Việt پښتو অসমীয়া دری Кыргызча or नेपाली Malagasy Kinyarwanda తెలుగు Lietuvių Oromoo Română മലയാളം Nederlands Soomaali Српски Українська Deutsch ಕನ್ನಡ Wolof Moore Shqip ქართული Azərbaycan Magyarالشرح
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่อนุญาตให้มุสลิมพูดในคำพูดของเขาว่า: "เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคนนั้น" หรือกล่าวว่า"เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และของบุคคลนั้น" เพราะความประสงค์ของอัลลอฮ์และความต้องการของพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่สมบูรณ์และไม่มีใครมีส่วนร่วมในความประสงค์ของพระองค์แม้แต่คนเดียว การใช้ตัวอักษร "วาว(و)" บ่งบอกถึงการมีส่วนร่วมของบุคคลนั้นกับอัลลอฮ์และเป็นการทำให้สถานะของอัลลอฮ์กับบุคคลนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน แต่จงกล่าวว่า"เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์ หลังจากนั้นเป็นความประสงค์ของบุคคลนั้น" ดังนั้นเขาทำให้ความประสงค์ของผู้เป็นบ่าวอยู่ภายใต้พระประสงค์ของอัลลอฮ์ โดยใช้คำว่า: "หลังจากนั้น" แทนที่จะเป็น "และ" เพราะคำว่า "หลังจากนั้น" หมายถึงหลังจากนั้นและทีหลัง ล่าช้าفوائد الحديث
ห้ามมิให้กล่าวคำว่า: "เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคุณ" และสำนวนที่คล้ายกันที่เป้นการเชื่อมโยงกับอัลลอฮ์ด้วย "วาว(و)" เพราะมันเป็นการตั้งภาคีในรูปแบบของถ้อยคำและคำพูด
อนุญาตให้พูดว่า: “เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์ จากนั้นเป็นความประสงค์ของคุณ” และสำนวนที่คล้ายกันที่เป็นการเชื่อมโยงกับอัลลอฮ์ด้วย "ษุมมา(ثم)" เพราะไม่มีคำเตือนใดๆ ในนั้น
เป็นการยืนยันถึงการมีคุณลักษณะความประสงค์สำหรับอัลลอฮ์ และยืนยันถึงการมีความประสงค์ของบ่าว และความประสงค์ของผู้เป็นบ่าวนั้นอยู่ภายใต้พระประสงค์ของอัลลอฮ์ ตะอาลา
ห้ามไม่ให้ผู้คนเข้าไปมีหุ้นส่วนในความประสงค์ของอัลลอฮ์ แม้ว่าจะเป็นทางวาจาก็ตาม
หากผู้ที่กล่าวประโยคนั้นได้ศรัทธาว่าความประสงค์ของผู้เป็นบ่าวนั้นเทียบเท่ากับพระประสงค์ของอัลลอฮ์ ตะอาลา เทียบเท่าในความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือเชื่อว่าผู้เป็นบ่าวนั้นมีความประสงค์ที่เป็นอิสระถือว่าเป็นการตั้งภาคีใหญ่ แต่ถ้าเขาเชื่อว่ามันไม่ใช่แบบนั้น ถือว่าเป็นชีริกเล็ก
التصنيفات
เตาฮีด อัล-อุลูฮียะฮฺ